ชาร์ลส์ กู๊ดเยียร์




ต้นกำเนิดของยางพาราอยู่ในทวีปอเมริกาใต้ และมีศูนย์กลางการซื้อขายยางพาราอยู่ที่เมืองท่าชื่อ "พารา" ในประเทศบราซิล จึงเป็นที่มาของชื่อยางพารา ยางพาราเป็นพืชสารพัดประโยชน์ ในน้ำยางสีขาวบริสุทธิ์ซ่อนความมหัศจรรย์ไว้อย่างเหลือเชื่อ และยังไม่มีผู้ใดค้นพบความลี้ลับแห่งธรรมชาตินี้ จนกระทั่งปี ค.ศ. 1831 ชาร์ลส์ กู๊ดเยียร์ (Charles Goodyear) ชาวอเมริกัน ก็สามารถไขปริศนาของยางพาราเพื่อให้มนุษย์ชาติได้ใช้ประโยชน์จากมัน อาชีพเดิมของชาร์ลสคือการทำธุรกิจเครื่องมือโลหะ วันหนึ่งเขาเห็นยางเสี่อมสภาพจำนวนมากกองอยู่หน้าโรงงาน ก็รู้สึกเสียดาย จึงเกิดความมุ่งมั่นที่จะเอาชนะยางเหล่านี้ให้ได้ เขาเฝ้าทดลองหาวิธีที่เหมาะในการแปรรูปน้ำยางให้เป็นยางคุณภาพดีอยู่ตลอดเวลา ชาร์ลสผิดผวังและล้มไม่เป็นท่าอยู่หลายครั้ง แต่ไม่เคยท้อ แม้จะต้องหมดตัว ล้มละลายและมีอันต้องระเห็จไปอยู่ในคุก เขาก็ยังเฝ้าไขปัญหาของยางพาราอย่างสบายอารมณ์ สุดท้ายฝันก็เป็นจริง ชาร์ลส์รู้แล้วว่าต้องใช้ผงแมกนีเซียมและปูนขาวมาผสมกับน้ำยาง ก่อนจะทางด้วยกรดไนตริก ดังน้แล้ว ยางจึงจะแห้งไม่ไหลเยิ้มและไม่แข็งกระด้างด้วย กระนั้นก็ดี ยางที่ได้ยังมีคุณภาพไม่ดีที่สุด ชาร์ลส์จึงคิดค้นต่อไปและพบว่า การเอายางผสมกับกำมะถันแล้งผึ่งด้วยไอน้ำภายใต้ความดันที่พอเหมาะ นานประมาณ 2-4 ชั่วโมง จะทำให้ได้เนื้อยางที่มีคุณภาพดีที่สุด แม้ว่าชาร์ลสจะสามารถทำให้ยางมีคุณภาพดีจนสามารถแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์นานาชนิดได้ แต่ตัวเขาเองกลับมีความเป็นอยู่แร้นแค้น เพราะเงินทั้งหมดที่มีทุ่มลงไปให้แก่การทดลองทั้งสิ้น จนปี ค.ศ. 1860 ชาร์ลส กู๊ดเยียร์ ก็จากโลกนี้ไป และทิ้งหนี้สินไว้อีกมากมาย